พัฒนาการเร็ว ๆ นี้ ของ การคิดแบบติดกลุ่ม

Ubiquity model

งานปี 2005 ระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเบื้องต้นที่แจนิสเชื่อว่าจำเป็น ไม่ได้รับการยืนยันจากงานวิจัย groupthink ต่าง ๆ ที่มีอยู่จึงฟันธงว่าไม่ถูกต้อง และอ้างว่าปัจจัยเหล่านั้นไม่เพียงไม่จุดชะนวนให้เกิดอาการ groupthink เท่านั้น แต่มักจะไม่มีผลเพิ่มอาการเลย[42]แล้วเสนอโมเดลอีกอย่างหนึ่ง คือ ubiquity modelซึ่งระบุปัจจัยเบื้องต้นต่างหาก ๆ ของ groupthink รวมทั้ง เอกลักษณ์ทางสังคม (social identification) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชัดเจน (salient norms) และความไม่เชื่อว่าสามารถทำกิจให้สำเร็จด้วยตนเอง (low self-efficacy)

General group problem-solving (GGPS) model

งานศึกษาปี 1993 อ้างว่า แนวคิดเกี่ยวกับ groupthink อาศัยตัวอย่างจำนวนน้อยและไม่ครอบคลุม แต่นำมาใช้วางนัยทั่วไปกว้างเกินไป[22]อนึ่ง แนวคิดยังแบ่งเป็นขั้น ๆ ในเชิงกำหนดอย่างจำกัดเกินไป หลักฐานเชิงประสบการณ์ก็ยังไม่คงเส้นคงวาด้วย นักวิจัยงานนี้เปรียบเทียบ groupthink กับแนวคิดของ มาสโลว์ และปียาแฌคือในแต่กรณี แนวคิดที่ตั้งขึ้นก่อความสนใจอย่างมาก แล้วก็มีงานวิจัยที่ตามมาซึ่งปฏิเสธความสมเหตุผลของแนวคิดดั้งเดิมนักวิจัยงานนี้เสนอโมเดลใหม่ซึ่งเรียกว่า General Group Problem Solving (GGPS) Model ซึ่งรวมเอาสิ่งที่ค้นพบในงานศึกษาเกี่ยวกับ groupthink โดยยังเปลี่ยนลักษณะต่าง ๆ ของ groupthink ด้วย[22]: 534 

การตรวจสอบใหม่

นักวิชาการรุ่นหลัง ๆ ได้ตรวจสอบความสมเหตุผลของ groupthink โดยอาศัยกรณีศึกษาที่แจนิสดั้งเดิมใช้เป็นหลักฐานสำหรับโมเดลของตน งานวิจัยปี 1998 เชื่อว่า เพราะนักวิชาการปัจจุบันมีแนวคิดที่ซับซ้อนยิ่งกว่าเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจโดยทั่วไป และเพราะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้นในเรื่อง ความล้มเหลวต่าง ๆ การตรวจสอบกรณีศึกษาใหม่จึงสมควรและจำเป็น[43]เขาอ้างว่าหลักฐานใหม่ ๆ ไม่สนับสนุนแนวคิดของแจนิสว่า groupthink ได้สร้างปัญหาสำหรับแผนการบุกครองอ่าวหมูของประธานาธิบดีเคนเนดี หรือแผนสงครามเวียดนามของประธานาธิบดีจอห์นสันเพราะประธานาธิบดีทั้งสองต่างก็ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภายนอกมากกว่าที่แจนิสระบุ[43]: 241 เขาอ้างว่า จริง ๆ ตัวประธานาธิบดีเองเป็นผู้ตัดสินใจในปฏิบัติการที่ล้มเหลวทั้งสอง และเมื่อตัดสินใจว่าจะทำอะไร ก็ให้น้ำหนักการตีความของตัวเองยิ่งกว่าการตัดสินใจของกลุ่มที่ได้เสนอ[43]: 241 แล้วสรุปว่า การอธิบายปัญหาทางทหารทั้งสองเรื่องของแจนิสบกพร่องโดยจริง ๆ groupthink มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มน้อยกว่าที่เชื่อกัน

แม้ groupthink เชื่อว่าจะเป็นเรื่องลบ แต่ก็มีผลดีบ้าง งานศึกษาปี 1999[44] พบว่าความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม เช่นเชื่อว่ากลุ่มกำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้สืบหาความเห็นพ้องน้อยลง ได้การตัดสินใจที่ดีขึ้น มีกิจกรรมกลุ่มที่ดีกว่า และกลุ่มปฏิบัติการได้ดีกว่า งานศึกษานี้ยังพบด้วยว่า groupthink ไม่สัมพันธ์กับการตัดสินใจที่บกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายความว่า ในสถานการณ์บางอย่าง groupthink ไม่จำเป็นต้องมีผลลบ นี่เท่ากับชี้ปัญหาของทฤษฎีดั้งเดิมของ groupthink อีกด้วย

ยังมีนักวิชาการอื่นอีกที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีดั้งเดิมของ groupthink งานศึกษาปี 1998 อ้างว่า ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองโดยรวม ทำให้ระวังน้อยลงและทำการเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่นที่ระบุว่ามีใน groupthink[45]งานปี 1998 เสนอว่าความมีรูปงามของสมาชิกอาจมีผลให้ตัดสินใจไม่ดีมากที่สุด[46]งานปี 1991 แสดงว่า ในมุมมองของความเป็นเอกลักษณ์ทางสังคม groupthink อาจจะเป็นความพยายามของกลุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกมองในทางลบ[6]

ร่วมกันแล้วนักวิชาการเหล่านี้ได้ทำให้เข้าใจปัญหาเกี่ยวกับ groupthink มากขึ้น เป็นการสร้างความเข้าใจใหม่

ทฤษฎีทางสังคมประชาน

ตามทฤษฎีของงานศึกษาปี 2007 ลักษณะพื้นฐานหลายอย่างของ groupthink เช่นความเป็นปึกแผ่น บรรยากาศที่ยอมกันและกัน และความรู้สึกว่าต่างกับคนอื่น เป็นผลของการเข้ารหัสความจำแบบ mnemonic encodingสมาชิกของกลุ่มที่เหนียวแน่น มักจะเข้ารหัสลักษณะสำคัญ ๆ ของกลุ่มโดยเป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memories)โดยก่อผลที่พยากรณ์ได้ต่อพฤติกรรมและอุดมคติโดยรวมของกลุ่มนี่เทียบกับเมื่อเข้ารหัสในรูปแบบ semantic memories ซึ่งเป็นการจำข้อมูลทั่วไป และเกิดอย่างสามัญในกลุ่มที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ และในกลุ่มที่มีระเบียบแบบแผนน้อยกว่า[47]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การคิดแบบติดกลุ่ม https://www.docsity.com/en/organisational-behaviou... https://ethicsunwrapped.utexas.edu/glossary/groupt... https://web.archive.org/web/20171019203019/https:/... https://web.archive.org/web/20190403033229/https:/... https://web.archive.org/web/20100401033524/http://... https://web.archive.org/web/20130618194044/http://... https://web.archive.org/web/20110409153959/http://... https://web.archive.org/web/20121018163559/http://... https://web.archive.org/web/20130618201511/http://... https://web.archive.org/web/20120707230400/http://...